วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คณาธิป ทองรวีวงศ์ ร่วมพูดคุยในรายการ มติชนทีวี -ตอน พรบ คอม ฉบับใหม่ ( แชร์คลิป)

รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ร่วมพูดคุยกับ มติชนทีวี จับตา! ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ น่าห่วงแค่ไหน? (ก่อนวัน สนช ลงมติ 1 วัน

รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ร่วมพูดคุยกับ มติชนทีวี  จับตา! ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ น่าห่วงแค่ไหน? (ก่อนวัน สนช ลงมติ 1 วัน



http://www.matichon.co.th/news/395919






รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ร่วมพูดคุยในหัวข้อ ] พ.ร.บ.คอมฉบับใหม่ น่ากลัวตรงไหน? ทำไมใครๆต้องคัดค้าน??? | 96.5 FM


 ฟังได้ตามลิงค์ของรายการดังนี้

[22-12-59] พ.ร.บ.คอมฉบับใหม่ น่ากลัวตรงไหน? ทำไมใครๆต้องคัดค้าน??? | 96.5 FM
















วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเด็น พรบ คอมฯ ฉบับใหม่ : คณาธิป ทองรวีวงศ์ ให้สัมภาษณ์ความเห็นกับสำนักข่าวรอยเตอร์ (ลิงค์ข่าว) 22 พย 59



คณาธิป ทองรวีวงศ์ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ประกอบการเขียนคอลัมน์ของนักข่าว
  (คุณ Patpicha Tanakasempipat )

โดยส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ได้ปรากฎในข่าวตามลิงค์ 

http://in.reuters.com/article/us-thailand-cyber-idINKBN13H0VE

สรุปในส่วนที่คณาธิป ทองรวีวงศ์ แสดงความเห็นได้ว่า 
..... ร่าง พรบคอมพิวเตอร์ กับ ร่าง พรบ มั่นคงไซเบอร์  มีมิติเกี่ยวกับการให้อำนาจเจ้าพนักงานเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของประชาชนได้ภายใต้เงื่อนไขของบทบัญญัติต่างๆ ในร่างเหล่านั้น ซึ่งในด้านหนึ่งเป็นการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม แต่ในอีกด้านหนึ่งควรต้องสร้างความสมดุลกับการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลด้วย


สำหรับร่าง พรบ มั่นคงไซเบอร์นั้น หากมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจรัฐในการสอดส่องการสื่อสาร  ก็ควรมีการตรวจสอบถ่วงดุลโดยองค์กรอื่น เช่น การขอหมายศาล ฯลฯ ภายใต้หลักสากลของการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและไม่ควรมีการสอดส่องในววงกว้าง (mass surveillance)  ฯลฯ







ประเด็น พรบ คอมฯ ฉบับใหม่ : คณาธิป ทองรวีวงศ์ ให้สัมภาษณ์ความเห็นกับข่าวสด (Eng) (ลิงค์ข่าว) 23 พย 59


หัวข้อข่าว

‘BACK DOOR’ IN CCA NOT TROJAN HORSE FOR SINGLE GATEWAY, DRAFTERS SAY

เขียนข่าวโดย  Sasiwan Mokkhasen  


 http://www.khaosodenglish.com/news/2016/11/23/back-door-cca-not-trojan-horse-single-gateway-drafters-say/









สรุปความเห็นในส่วนของ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ที่ให้สัมภาษณ์นักข่าว
  
ร่าง พรบ คอมฯ ฉบับที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
 โดย สนช  23  พย 59 นั้น 
- มีแนวโน้มมุ่งเน้นกำหนด ความผิดทางเนื้อหา
 (Content related offence) 
 เช่น การเผยแพร่ข้อมูลเท็จ อันส่งผลต่อความสงบเรียบร้อย ฯลฯ  
ซึ่งแตกต่างจากหลักการกำหนดความผิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายลักษณะนี้ของหลายประเทศ 
ที่มุ่งเน้นความผิดที่กระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์
 มากกว่าการกำหนดความผิดเกี่ยวกับเนื้อหาข้อมูล

นอกจากนี้ยังมีประเด็นการพยายามขยายขอบเขตการให้อำนาจเจ้าพนักงาน (ม 18 /19 ) กับกรณีความผิดตาม "กฎหมายอื่น
 ที่ไม่ใช่ความผิด ตาม พรบคอม ฯ อีกด้วย