วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

สุขสันต์วันแรดโลก : แรด กับ ความเป็นส่วนตัว (World rhino day 22 Sept 2014) : ไทยไพรเวซี่ by คณาธิป



เนื่องในโอกาส วันแรดโลก (World rhino day , 22 September 2014) ในปีนี้
       (ก่อนวันสารทไทย 1 วัน)





ไทยไพรเวซี่ก็สนับสนุนการรักแรด โดยเฉพาะการอนุรักษ์แรดในฐานะสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
       และขอร่วมคัดค้าน การค้าแรดอย่างผิดกฎหมาย การสังหารแรดอย่างทารุณเพื่อค้านอแรด  ฯลฯ
               นั่นเป็นเหตุผลหลักของวันแรดโลก ที่กลุ่มอนุรักษ์ทั่วโลกมีการรวมตัวรณรงค์กัน

แต่ไทยไพรเวซี่  ขอเสนอมุมมองด้านสิทธิส่วนบุคคลเกี่ยวกับแรดโดยตั้งข้อสังเกต ดังนี้
           

  1. Fact ทั่วไป โดยย่อ
  แรด มีหลายชนิด แรดขาว แรดชวา แรดดำ แรดอินเดีย กระซู่
  แรดบางชนิดมี 2 รอ บางชนิดมี 1 นอ
  แรดบางชนิดชอบอยู่ลำพัง เช่น  แรดชวาเป็นสัตว์สันโดษปกติจะอยู่เพียงตัวเดียวลำพังยกเว้นจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน  แรดบางชนิดก็อยู่เป็นครอบครัวเล็กๆ เช่นแรดขาวอาฟริกาใต้


  2.  แรดชอบอยู่ลำพัง  ไม่ค่อยรังแกรุกรานสัตว์อื่น ดูแล้วสอดคล้องกับหลักการความเป็นส่วนตัวมาก    แต่ก็ถูกนำมาเปรียบเปรยในเชิงลบต่อพฤติกรรมของมนุษย์   ซึ่งก็แปลกดี
           ว่ากันว่าการเปรียบเปรยนี้มีที่มาหลากหลาย 
         บ้างก็ว่า แรดตัวเมียต่อสู้กันเพื่อแย่งตัวผู้
         บ้างก็ว่า แรดตัวผู้ต่อสู้กันแย่งแรดตัวเมีย หลังจากนั้น ตัวผู้ที่ชนะก็เหนื่อยและหมดแรง ทำให้แรดตัวเมียต้องมาพยายามปลุกเร้าอารมณ์ผสมพันธุ์
         บ้างก็นำหนังแรดที่มีความหนามาเปรียบเทีียบกับมนุษย์บางคน

      จะมีที่มาอย่างไรก็ตาม ไม่ค่อยสำคัญนัก
 ที่สำคัญก็คือ ปัจจุบัน คนที่ถูกเปรียบเปรยก็ดูจะเฉยๆไม่ค่อยอะไรกับคำพูดพวกนี้นัก
     ไทยไพรเวซี่คิดว่า   คนที่ถูกเปรียบเทียบคงจะเข้าใจในธรรมชาติและอุปนิสัยจริงๆของแรดมากขึ้น ว่าจริงๆแล้วมันเป็นสัตว์น่ารัก ไม่ได้มีพิษมีภัยต่อมนุษย์  แถมน่าสงสารเพราะถูกมนุษย์คุกคามจนแทบจะสูญพันธุ์  
         ดังนั้น จะเห็นได้ว่า  เวลาสถานที่ไหนมีรูปปั้นแรด ก็จะมีคนรี่เข้าไปถ่ายเซลฟี่คู่กับแรดแล้วแชร์เรียกแขกได้อย่างมากมาย   ตุ๊กตาแรด ก็ยังเป็นของขวัญยอดนิยมสำหรับโอกาสมงคลต่างๆ ทั้งวันเกิด รับปริญญา 

       


   3.  ในเมื่อแรด ชอบอยู่ลำพังหรือกลุ่มเล็กๆ จึงสอดคล้องกับแนวคิด สิทธิส่วนบุคคล

           สิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว มีความเป็นมาที่ยาวนาน ถือได้ว่าเป็นสิทธิอันหนึ่งที่ติดตัวมนุษย์มา  
           Warren and Brandeis ได้เขียนถึง "right to be let alone" ไว้ในบทความกฎหมายคลาสสิค (The right to privacy) ตั้งแต่ ปี 1890
         ย้ำถึงสิทธิพื้นฐานในความเป็นส่วนตัวของบุคคลทุกคน ที่จะสามารถที่จะอยู่โดยลำพังได้ โดยไม่มีใครมาสอดแทรกในชีวิตส่วนตัว

    แรด ชอบ right to be let alone  เช่นเดียวกับมนุษย์อีกหลายๆคน



4.   พระพุทธองค์ ได้เปรียบเทียบถึงแรดไว้ เช่น


ภิกษุยินดีอยู่ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ (บริขาร 8 เช่น ไตรจีวร บาตร ฯลฯ)
     ย่อมไปได้   4   ทิศ  ไม่ติดขัด  อดกลั้นต่ออันตรายทั้งหลาย
     ไม่หวาดหวั่น  คนเดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ดังนี้.

 (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 447)

   จะเห็นได้ว่า  ท่านได้เปรียบเทียบการดำรงตนของพระภิกษุ ที่สามารถดำรงชีวิตโดยปราศจากสิ่งฟุ่มเฟือย  มีเฉพาะปัจจัยที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ต้องสะสมทรัพย์สมบัติทำให้ไม่ต้องยึดติดกับวัตถุ จะไปเผยแพร่ธรรมที่ไหนก็ไปได้เรืี่อยๆไม่ต้องกังวัลกับทรัพย์สินต่างๆ เหมือนดังนอแรด (แรดชนิดนอเดียว) ที่ไปไหนก็ได้โดยลำพัง ใช้ชีวิตโดยลำพังก็ได้  และอาจตีความถึงการปฎิบัติธรรมและกรรมของบุคคล ซึ่งใครทำใครก็ได้รับ เป็นเรื่องเฉพาะตัวคนนั้น  ฯลฯ




5.  คำว่า สันโดษ กับ อยู่คนเดียวหรืออยู่โดยลำพัง อาจไม่ได้มีความหมายเหมือนกันทีเดียวนัก

        คนเรามักเข้าใจว่า สันโดษ คือการ อยู่คนเดียว เท่านั้น จริงๆแล้ว 
สันโดษ มีความหมายในเชิง  ยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ 
ดังเห็นได้จาก

      หนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ที่อธิบายว่า   สันโดษ  คือ ความ ยินดี, ความพอใจ, ยินดีด้วยปัจจัย 4  คือ ผ้านุ่งผ้าห่มอาหาร, ที่นอนที่นั่ง และยา ตามมีตามได้, ยินดีในของของตน, การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ด้วยความเพียรพยายามอัน ชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร,  

         คำว่า right to be let alone ในบทความของ Warren and Brandeis ก็ไม่ได้หมายความว่า คนๆนั้นจะต้องละโลกไปอยู่ในถ้ำ  
      แต่หมายถึง คนเราย่อมสามารถมีสิทธิที่จะอยู่โดยปราศจากการสอดแทรกรบกวนจากคนอื่น  
     หากจะกล่าวว่า  right to be let alone ของ Warren and Brandeis คือ สันโดษ ตามแนวพุทธ ก็ไม่น่าใช่อีก เพราะทั้งสองท่านไม่ได้มองในเชิงพุทธหรือความพอเพียง 

  
 สรุปแล้ว 
     เนื่องในวันแรดโลก    ไทยไพรเวซี่ มองแรดแล้วสะท้อนข้อสังเกตดังนี้
     -  สิทธิส่วนบุคคลหรือไพรเวซี่   
      ไม่ได้มีความหมายว่า เราจะต้องอยู่โดดเดียว คนเดียว โดยลำพัง
    แยกจากสังคมไปอยู่ป่า (ซึ่งก็คงไม่ค่อยมีป่าเหลือให้อยู่แล้วในยุคนี้) 
แต่ หมายถึง การที่เราสามารถใช้ชีวิตในสังคมผู้คนมากมายได้ 
     โดยมีส่วนของชีวิต ที่ปลอดจากการแทรกแซง รุกล้ำ สอดเข้ายุ่ง จากคนอื่นๆ 
    โดยมีพื้นที่ส่วนตัวของเรา ที่เราสามารถจัดการ เลือกรับการติดต่อ หรือไม่ติดต่อ 
     โดยเราสามารถทำการควบคุมเรื่องราวส่วนตัวของเรา ให้ปรากฎหรือไม่ปรากฎต่อสังคมได้ 

       อาจจะมากเกินกว่าสิ่งที่แรดจริงๆจะทำได้ ไปสักหน่อย 
      แต่มันก็สำคัญกับความเป็นคนของเราทุกคน 
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น